ความเป็นมาของชนชาติไทย
ความเป็นมาของชาติไทย
ประเทศไทยาเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน
จากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์ทำให้ทราบภูมิหลังของการตั้งถิ่นฐานในดินแดนประเทศไทยในสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งกลุ่มชนเหล่านี้ได้สร้างความเจริญต่าง ๆ
บนผืนแผ่นดินไทยจนพัฒนาเป็นชุมชนเมือง และแว่นแคว้นต่าง
ๆ ดังจะได้ศึกษาต่อไปนี้
การสร้างอาณาจักรของรัฐไทยในดินแดนประเทศไทยในอดีต
เมื่อมนุษย์รู้จักรวมตัวกันอยู่เป็นชุมชน
มีการแบ่งหน้าที่กันในสังคม
ทำให้เกิดมีผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครอง
คนที่อยู่ในเมืองส่วนหนึ่งเป็นคนพื้นเมืองเดิม แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นคนที่อพยพมาจากเมืองอื่น
เนื่องจากมีการติดต่อแลกเปลี่ยนกันทางด้านการค้าขายและวัฒนธรรมกับเมืองอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป และจากการตั้งหลักแหล่งเป็นเมือง จึงปรากฎหลักฐานว่า เมืองต่าง ๆ
ในบริเวณใกล้เคียงกันมีการรวมกลุ่มพัฒนาเป็นแคว้น
และอาณาจักร ตามลำดับ
๑.อาณาจักราตามพรลิงค์
ตามพรลิงค์
เป็นอาณาจักรสำคัญตั้งอยู่แถบชายฝั่งทะเลในดินแดนภาคใต้ของไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นที่ตั้งที่เหมาะในการติดต่อค้าขายกับเมืองต่าง
ๆ ทั้งทางบกและทางทะเล
เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ตามพรลิงค์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น นครศรีธรรมราช
และเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านพระพุทธศาสนา
โดยได้ติดต่อกับลังกาและรับเอาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์มาปฏิบัติอย่างแพร่หลาย
อาณาจักรนครศรีธรรมราชมีความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ
กับดินแดนทางภาคกลางและภาคเหนือ เช่น ละโว้
หริภุญชัย สุพรรณภูมิ สุโขทัย
พระพุทธศาสนา
จึงได้เผยแผ่ไปยังสุโขทัยและหัวเมืองอื่น ๆ
๒.อาณาจักรโคตรบูร
โคตรบูร
เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่บริเวณสองฟากแม่น้ำโขง มีอาณาเขตอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และครอบคลุมไปถึงตอนกลางของประเทศลาวในปัจจุบัน คือ
บริเวณตั้งแต่จังหวัดหนองคาย
เวียงจันทน์ นครพนม สกลนคร
ไปจนจดเขตอุบลราชธานี
สันนิษฐานว่า
ศูนย์กลางของอาณาจักรโคตรบูรน่าจะอยู่ที่จังหวัดนครพนม
โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรโคตรบูร
คือ พระธาตุพนม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า
บริเวณนี้ได้มีการยอมรับและนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว
๓.อาณาจักรทวารวดี
ทวารวดี
เป็นอาณาจักรสำคัญที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองในดินแดนประเทศไทย เมื่อประมาณ 1,500 ปี
มาแล้ว หรือในราวพุทธศตวรรษที่ 11 - 16
จากหลักฐานที่พบ
ทำให้สันนิษฐานว่าศูนย์กลางความเจริญของอาณาจักรทวารวดี น่าจะอยู่ที่บริเวณจังหวัดนครปฐม ราชบุรี
หรือบริเวณอำเภออู่ทอง
จังหวัดสุพรรณบุรี
ทวารวดีเป็นอาณาจักรที่ได้รับวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนามาจากอินเดีย
ศิลปวัฒนธรรมในสมัยทวารวดีมีอิทธิพลสืบทอดต่อมาจนถึงในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นผลงานทางด้านศิลปกรรม ซึ่งเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
๔.อาณาจักรละโว้
ละโว้
เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 - 19
และเคยาเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรทวารวดีมาก่อนจนพัฒนาเป็นอาณาจักรละโว้
และแผ่ขยายอิทธิพลครอบคลุมดินแดนภาคกลางตอนบน และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยบางส่วน
อาณาจักรละโว้
เป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ละโว้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอม
ทำให้ได้รับอิทธิพลจากขอม
ละโว้จึงมีการผสมผสานทางวัฒนธรรม
ทำให้มีศิลปะหลากหลายแบบ
ทั้งแบบพระพุทธศาสนาแบบฮินดู
และแบบขอม
๕.อาณาจักรศรีวิชัย
เป็นอาณาจักรโบราณที่มีความเจริญรุ่งเรืองราวพุทธศตวรรษที่ 12 -
18 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนทางภาคใต้ของไทย และคาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา
และเกาะชวา
โดยสันนิษฐานว่าศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยน่าจะอยู่ที่บริเวณอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเมืองปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย
และเนื่องจากอาณาจักรศรีวิชัยมีอาณาเขตติดทะเล จึงมีการติดต่อค้าขายกับเมืองอื่น ๆ
และรับเอาวัฒนธรรมจากเมืองเหล่านั้นมาด้วย
โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูจากอินเดีย
๖.อาณาจักรหริภุญชัย
หริภุญชัย
เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของอาณาจักรสุโขทัย
มีอาณาเขตอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนและแม่น้ำวัง
มีนครลำพูนหรือหริภุญชัยเป็นศูนย์กลางความเจริญ ตามตำนานกล่าว่า เริ่มก่อตั้งอาณาจักรราวพุทธศตวรรษที่ 13 จากตำนานจามเทวได้เล่าไว้ว่า พระนางจามเทวีพระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้
(ลพบุรี)
ได้เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของนครและทรงได้ขยายอำนาจของอำนาจของอาณาจักรออกไปอีก โดยสร้างเมืองเขลางค์ (ลำปาง) ขึ้นไปและโปรดเกล้า ฯ
ให้พระราชโอรสองค์เล็กไปครองเมือง
อาณาจักรหริภุญชัยสิ้นสุดลง
เมื่อพญามังรายผู้ก่อตั้งอาณาจักรล้านนายกกองทัพมาตีเมืองหริภุญชัย ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 1824 - 1836)
๖.อาณาจักรล้านนา
อาณาจักรล้านนา
นับเป็นอาณาจักรร่วมสมัยกับอาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่ทางเหนือของอาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่ทางเหนือของอาณาจักรสุโขทัย
ซึ่งมีอาณาเขตอยู่บริเวณที่ราบเมืองเชียงใหม่และลำพูน
พญามังรายแห่งเมืองเชียงรายเป็นกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถ ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ
รวมทั้งอาณาจักรหริภุญชัยไว้ในอำนาจได้หมด
ต่อมาใน พ.ศ. 1839 พระองค์ได้ทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา
ในสมัยของพญามังราย พระองค์ได้ทรงวางรากฐานความเจริญไว้ให้กับอาณาจักรล้านนา
ทำให้ล้านนาขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง และมีความเจริญรุ่งเรืองทุกด้าน ทั้งด้านศิลปกรรม อักษรศาสตร์
ศาสนา
โดยเฉพาะทางด้านศาสนานั้นมีความรุ่งเรืองมาก ดังจะเห็นได้จากศิลปกรรมที่สืบทอดมาถึงรุ่นหลัง เช่น
การสร้างวัด พระพุทธรูป และพระเจดีย์ต่าง ๆ
ในพุทธศตวรรษที่ 22
ล้านนาเริ่มมีฐานะไม่มั่นคงนัก
จนมาถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไทยในสมัยของรัชกาลที่
4 ถือเป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรล้านนา
จาการศึกษาร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และร่องรอยหลักฐานที่เป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ
และหลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า
ดินแดนในประเทศไทยมีอารยธรรมและความเจริญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคนในชุมชนอื่น ๆ
ขอขอบคุณ http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/1613-00/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น